วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ภาพการจัดซื้อ

ภาพ

ความหมายการจัดซื้อ

พฤหัสบดี, 12 มิถุนายน 2008 23:20
ความหมายของคำว่า “โลจิสติกส์” เป็นสิ่งหนึ่งที่หลายคนยังคงไม่มีความเข้าใจอย่างแน่ชัด ซึ่งมีคนจำนวนมากยังคงเข้าใจความหมายของคำว่าโลจิสติกส์ ว่าเป็นการบริหารจัดการกิจกรรมด้านการขนส่งสินค้า เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามได้มีผู้ให้คำนิยามที่เหมาะสมกับคำว่าโลจิสติกส์ไว้เป็นจำนวนมาก อาทิ
“โลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน เพื่อช่วยในการวางแผนการสนับสนุนการควบคุมการไหลอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล และเก็บรักษาสินค้าบริการและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับข้อมูลจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า”
“กระบวนการในการวางแผนการนำเสนอ และการควบคุมการไหลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและการเก็บสินค้าบริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นในการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภค เพื่อวัตถุประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งคำนิยามนี้จะรวมถึงการเคลื่อนย้าย ทั้งภายในและภายนอก และ การที่สินค้าถูกส่งกลับคืน”
“โครงสร้างการวางแผนทางธุรกิจสำหรับการบริหารจัดการกับวัตถุดิบ การบริการ การไหลของข้อมูลและเงินทุน ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อน การติดต่อสื่อสาร และกระบวนการควบคุมให้ตรงกับความต้องการในสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบัน”
“ศาสตร์ในการวางแผนและจัดการการเคลื่อนย้าย และบำรุงรักษากองกำลัง ซึ่งการดำเนินงานประกอบด้วย การออกแบบ การพัฒนา การเก็บรักษา การเคลื่อนย้าย การกระจาย การบำรุงรักษา การขนถ่าย และการควบคุมทางวัตถุ และการให้สวัสดิการด้านสุขภาพแก่บุคลากร การก่อสร้าง การบำรุงรักษาการดำเนินงานและการควบคุมสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ รวมถึงการให้บริการต่าง ๆ”
“การจัดซื้อจัดหา การบำรุงรักษา การกระจาย และการแทนที่คนและวัตถุดิบ”
“กระบวนการในการวางแผน การนำเสนอ และการควบคุมการไหลที่มีประสิทธิภาพการไหลอย่างมีประสิทธิผล ด้านค่าใช้จ่าย การเก็บรักษาวัตถุดิบ การเก็บสินค้าคงคลังระหว่างผลิต สินค้าสำเร็จรูป และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นไปสู่ผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า”
“ศาสตร์ของการวางแผน การจัดองค์กร และกิจกรรมการจัดการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการผลิตและการให้บริการ”
“ศาสตร์ในการวางแผนและการนำเสนอ และการใช้ทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของระบบ”
“การวางแผน การจัดซื้อจัดหา การขนส่ง การสนับสนุน การบำรุงรักษา”
แต่คำนิยามที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือ คำนิยามที่บัญญัติขึ้นโดย Council of Supply Chain Management Professional คือ “Logistics Management is that part of the supply chain process that plans, implements and controls the efficient, effective flow and storage of goods, service and related information form the point-of-origin to the point-of-consumption in order to meet customers’ requirements.”
และมีผู้แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า “การบริหารจัดการโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการระบบห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งรวมเรื่องของการวางแผน การดำเนินการ การควบคุม การไหลเวียน และการจัดเก็บสินค้า บริการ และสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดของการบริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค”
โดยสรุปแล้ว ความหมายในภาพรวมของคำว่าโลจิสติกส์จะหมายถึง การบริหารจัดการกระบวนการเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบ สินค้า จากจุดผลิตไปยังสถานที่ซึ่งมีความต้องการสินค้าหรือบริการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ การบริหารจัดการโลจิสติกส์มีความจำเป็นต่อหน่วยงานทั้งในส่วนของภาคราชการและภาคเอกชน ภาคการผลิตและภาคบริการ กล่าวคือมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพในการประกอบการขององค์กรทุกประเภท เนื่องจากการบริหารจัดการกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ จะทำให้สามารถลดความสูญเสียในภาคการผลิต สามารถลดเวลาที่ใช้ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ความสำคัญการจัดซื้อ

ความสำคัญของการควบคุมการจัดซื้อ1.เพื่อควบคุมต้นทุน2.เพื่อการควบคุมคุณภาพการผลิต3.เพื่อการควบคุมคุณาพในการขนส่งให้ทันเวลา4.เพื่อการวางแผนการผลิต-สำหรับช่วงเทศกาลหรือการสั่งพิเศษ-เพื่อย่นระยะเวลา-ควบคุมอัตราการผลิตและควรทราบไว้ด้วยว่าคุณภาพสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพของวัตถุดิบที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิต คุณภาพของสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้ายอมรับและง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ การจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตสินค้าการเพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไรของกิจการที่เป็นผลมาจากการจัดซื้อ มีส่วนหนึ่งที่มาจากลักษณะการต่อรองเพื่อหาราคาที่ดีที่สุด ประหยัดที่สุด ภายใต้คุณภาพของวัตถุดิบหรือสินค้าที่กำหนดจากผู้เสนอขาย (Suppliers) หลายๆ ราย ทำให้เกิดการประหยัดเกี่ยวกับต้นทุนและกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นได้อย่างไรก็ตาม ลำดับความสำคัญของการจัดซื้อแตกต่างกันออกไปตามประเภทของธุรกิจ เช่น ธุรกิจขนาดย่อมที่เน้นการให้บริการรับทำบัญชี รายการสินค้าคงหรือวัสดุคงเหลือไม่ใช่รายการบัญชีที่มีบทบาท ธุรกิจประเภทนี้สนใจค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานมากกว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัสดุสำนักงานหรือวัสดุอื่นๆ
เขียนโดย ชณิตนันท์

ประโยชน์การจัดซื้อ


ความมายการควบคุมการจัดซื้อ
การควบคุมการจัดซื้อ(Procurement) เป็นกระบวนการจัดซื้อมีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจช่วยให้แน่ใจว่าธุรกิจได้มาเฉพาะสินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการ (only required goods and services) ที่ ราคาที่ดีที่สุด (best price)nช่วยธุรกิจควบคุมต้นทุน และปรับปรุงผลกำไร

หลักการจัดซื้อ

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร
_______________________________
หลักการบริหารคน โดยมุ่งเน้นให้คนเป็นจุดศูนย์กลาง (People Center) แต่การจะสร้างคนให้เป็นศูนย์กลางนั้น จำเป็นจะต้องเพิ่มขีดความสามารถ (Key Capability) ในแง่มุมต่าง ๆ อาทิ การให้คำแนะนำช่วยเหลือเพื่อพนักงานให้สามารถปฏิบัติงานเป็นไปด้วยดี การสร้างทีมงาน (Team Building) การวางแผนและการบริหารงาน (Planning & Executive) ความรู้สึกนึกคิดความเป็นเจ้าของ การติดต่อสื่อสาร (Communication) การแก้ไขปัญหา (Problem Solving) และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ให้สอดคล้องกับโครงสร้างและระบบ จึงจะทำให้บุคลากรภายในองค์การมีความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการแปรรูปองค์การไปสู่การเป็นบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชน
ก่อนอื่นองค์การจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของธุรกิจ (Business Objective) ขึ้นมาเสียก่อนเพื่อให้องค์การที่ปรับเปลี่ยนสถานะไปสู่ภาคเอกชน มีกรอบ และเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน สำหรับวัตถุประสงค์ของ HR จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจ กล่าวคือ จะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก HR จะเป็นส่วนผลักดันให้ธุรกิจเดินหน้าหรือขับเคลื่อนไปได้ จึงจำเป็นจะต้อง
1. มีการบ่งชี้ และพัฒนาผู้บริหารระดับ ให้มีความรับผิดชอบงานที่สลับซับซ้อน ในลักษณะแนวกว้างมากยิ่งขึ้น
1. สนับสนุน ช่วยเหลืองานทุกๆ ฝ่ายเพื่อให้แผนกลยุทธ์มีลักษณะบูรณาการ (Strategic Integrated) มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การที่คนจะขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จจำเป็นจะต้องพัฒนาบุคลากรในระดับล่าง และระดับกลาง โดยถือว่าผู้บริหารระดับกลางจะเป็นจุดเชื่อมโยง (Linking Pin) ให้ระดับปฏิบัติสามารถดำเนินการตามแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยองค์การจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความชัดเจน จึงจะทำให้บุคลากรเหล่านี้สามารถนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Implementation) ได้อย่างแท้จริง สำหรับวัตถุประสงค์ในการพัฒนาบุคลากรประกอบไปด้วย
1. การพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานในแนวเจาะลึก และมีความเข้าใจในการบูรณาการงานด้านต่าง ๆ อาทิ กลยุทธ์ในสายงานธุรกิจที่สำคัญ,ผลกระทบอันเนื่องมาจากลูกค้า และการแข่งขันในระดับนานาชาติ หรือในระดับโลก (World Class Competition) 2. นำแนวคิดและเครื่องมือวิเคราะห์ (Analytical Tools) ไปประยุกต์ใช้ 3. เพิ่มขีดความสามารถในการวางแผน และการติดสินใจ 4. ตรวจสอบทางเลือก เพื่อสร้างวิธีการเรียนรู้ การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Managing Change)
วัตถุประสงค์เหล่านี้ จะเป็นแนวทางในการค้นหาเทคนิคในการพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถ (Competency) เพียงพอต่อการแข่งขันในระดับนานาชาติได้ ดังนั้น เทคนิคการพัฒนาบุคลากรจะมีหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งประกอบไปด้วย การปฏิสัมพันธ์กัน(Interaction) กรณีศึกษา (Case Studies) การจัดโครงการออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ (Small Groups Projects) การบรรยายและวิพากวิจารณ์ร่วมกัน และการจำลองสถานการณ์โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based Simulation) เมื่อองค์การพัฒนาบุคลากรมีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงได้แล้ว ขั้นตอนต่อไป องค์การจะต้องกำหนดปรัชญาในการบริหาร (Management Philosophy) ซึ่งถือว่าเป็นบทบัญญัติที่จะทำให้ทุกคนมีหลักยึดในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงขอยกตัวอย่าง มร.Matsushita ซึ่งได้กำหนดปรัชญาในการบริหารไว้ ดังนี้
o พนักงานที่อยู่ภายในองค์การ จะต้องเป็นพนักงานที่ดี o มีนโยบายที่ชัดเจน สามารถวัดผล และบรรลุผลได้อย่างแท้จริง o ส่งเสริมให้มีการแข่งขันทางด้านความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ o สร้างทางเลือกเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม o ไม่ยอมให้มีการแบ่งเป็นก๊ก เป็นเหล่า ภายในบริษัทเป็นอันขาด o การบริหารงานเป็นระบบเปิด (Open Management) o พนักงานทุกคน ทุกระดับ ต้องปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีแบบแผน o บริษัทของเราถือว่าเป็นองค์การสาธารณชน
จากตัวอย่างปรัชญาในการบริหารของ มร.Matsushita ข้างต้น องค์การจะติดปรัชญาดังกล่าวไว้ให้ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนยึดถือปฏิบัติตาม และใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์การบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตาม โลกปัจจุบันได้กำหนดระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐานสากล ISO 9000 ขึ้นมาเพื่อให้ทุกหน่วยงานจัดทำ และดำเนินการตามมาตรฐาน ISO 9000 ซึ่งถือว่าหากทุกคนปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้จะเป็นเครื่องพิสูจน์ยืนยันว่า สินค้าและบริการที่ส่งมอบให้กับลูกค้าสามารถประกันคุณภาพ (Quality Assurance) ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นหลักการของระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 จะมุ่งเน้น
o ระบบบริหารคุณภาพจะมุ่งเน้นหรือติดตาม เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ o ต้องควบคุมทุกปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพอย่างเข้มงวด o ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว แต่มุ่งเน้นไปที่ตัวระบบด้วย
การเปลี่ยนแปลงสารบบใหญ่ ๆ ของระบบ ISO 9001 ปี ค.ศ.2000 : จะมุ่งเน้นสาระสำคัญ ๆ ดังนี้
o ฝ่ายบริหารมีข้อผูกพัน (Commitment) เพิ่มมากยิ่งขึ้น o วัตถุประสงค์ และแผน ต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง o มีการบ่งชี้ลูกค้าให้เห็นอย่างชัดเจน
ข้อกำหนด (Requirements) – แปลงมาจากความต้องการ (Needs)
ความคาดหวัง , ผลิตภัณฑ์ทุก ๆ รายการ และข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย
o ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น o ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ความสามารถ (Competency) o ติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันภายในองค์การ
ระบบการบริหารแบบบูรณาการ (Integrated Management System) เนื่องจากปัจจุบันการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานขาดการประสานงานกันทั้งในแง่การจัดทำแผน การติดต่อสื่อสารระหว่างกันและกัน การแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง และไม่สามารถบรรลุเป้าหมายรวม (Goals) ขององค์การ ดังนั้น ระบบการบริหารแบบบูรณาการ จึงเป็นมาตรการที่สำคัญในการยกระดับองค์การก้าวไปสู่ระบบคุณภาพ (Quality System) ได้อย่างมีประสิทธิผล สำหรับหัวข้อหลัก ๆ ในการบริหารแบบบูรณาการจะประกอบไปด้วย
o นโยบายในการบริหาร o พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการทบทวนการบริหาร o ระบบเอกสารต้องมีการควบคุมและจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย o การจัดซื้อ เน้นการจัดซื้อตามระบบ JIT ( Just In Time ) และความโปร่งใสเป็นสำคัญ o การติดตามเป็นไปตามกระบวนการในการทำงาน o มีมาตรการแก้ไขและป้องกัน o มีการฝึกอบรมพนักงาน o มีการประเมินผลระบบ และตรวจติดตามผลภายใน o ทุกระบบมุ่งเน้นไปที่การสร้างมาตรการป้องกันเป็นหลัก o มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง o มีการแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหาร รับผิดชอบระบบคุณภาพไว้ในโครงสร้างอย่างชัดเจน
ทำอย่างไรจึงจะบูรณาการให้เกิดขึ้นได้ ?
วิธีการบูรณาการ จะมีหลักการที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. แยกแยะองค์ประกอบหลัก ๆ ของมาตรฐานออกมา เพื่อนำไปสู่การบูรณาการ 2. แยกแยะองค์ประกอบที่แตกต่างออกมา โดยเฉพาะองค์ประกอบที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง 3. ทบทวนคู่มือนโยบายการบริหารในปัจจุบันโดยพ่วงองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบเฉพาะเจาะจง ควบคู่เข้าไปด้วย 4. ทบทวนและขยายผลการนำมาตรฐาน ขั้นตอน การปฏิบัติงานที่ครอบคลุมองค์ประกอบดังกล่าวไปใช้ภายในหน่วยงาน พร้อมทั้งฝึกอบรมพนักงาน และให้พนักงานนำมาตรฐานดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
5. จัดเตรียมระบบ และขั้นตอนต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะนำไปใช้งานได้ทันที โดยเฉพาะระบบและขั้นตอน ต้องจัดทำเป็นเอกสาร และกระจายไปตามจุดต่าง ๆ ที่จำเป็นในการใช้งาน รวมทั้งฝึกอบรมพนักงานให้สามารถนำไปใช้งานได้ทันที 6. มีการทวนสอบการนำระบบการตรวจ ติดตามผลภายในไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการบูรณาการ เราสามารถจัดทำเป็นรูปจิ๊กซอ (Jigsaw) ได้ดังนี้
(ทำภาพตามตัวอย่างที่ให้มา)






ซึ่งการจัดทำระบบคุณภาพ เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้คนภายในองค์การเกิดการเรียนรู้งานที่ปฏิบัติ รวมทั้งการแก้ไขปัญหา และการป้องกัน ดังนั้น ระบบคุณภาพในแต่ละประเภทจะมีส่วนทำให้องค์การต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทุกด้าน จึงจะทำให้องค์การแห่งการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริงและสามารถก้าวไปสู่ Best Practice ในระดับโลกได้ในที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม จุดที่จะทำให้องค์การผกผันหรือได้รับการต่อต้านอยู่ที่คนภายในองค์การ ฉะนั้น ผู้บริหารระดับสูงจะต้องอธิบาย ชี้แจงและทำความเข้าใจกับพนักงานทุกคนทุกระดับได้รับทราบข้อดีและข้อเสีย ตลอดจนคำนึงถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นและแรงจูงใจที่จะได้รับ รวมทั้งการสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความมั่นคงของงานให้ทุกคนมีทัศนคติไปในทางบวก องค์การก็จะสามารถขับเคลื่อนไปสู่มิติใหม่ ๆ ได้อย่างราบรื่น
บทสรุป การนำระบบคุณภาพเข้ามาปรับใช้ภายในองค์การเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการสร้างมิติใหม่ภายในองค์การ กล่าวคือ ต้องการให้พนักงานรู้จักคิด รู้จักแก้ไขปัญหา และกล้าตัดสินใจในการปฏิบัติงานด้วยตนเองแทนการพึ่งพิงผู้บริหารตลอดเวลา ดังนั้น ผู้บริหารทุกคนจะต้องสร้างปรัชญาในการทำงานให้เกิดขึ้น พร้อมทั้งผลักดันองค์การให้ก้าวไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา และต้องไม่ท้อถอย กล่าวคือ จะต้องกัดแบบไม่ปล่อย จึงจะทำให้ระบบคุณภาพที่องค์การนำมาใช้บรรลุผลสำเร็จได้อย่างแท้จริง สำหรับปรัชญาคุณภาพของ ดร.เดมิ่ง จะมุ่งเน้น
o การสร้างเจตนารมย์ที่แน่วแน่ในการนำเอาระบบคุณภาพมาปรับใช้ภายในองค์การ o พนักงานทุกคนต้องได้รับชัยชนะร่วมกันไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้ o การออกแบบต้องเน้นคุณภาพสอดใส่เข้าไปทุกจุด o มีการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง o ฝึกอบรมให้เกิดทักษะในลักษณะเป็นมืออาชีพ
o สร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์การ o ขจัดความกลัวออกไปให้หมดสิ้น o ดำเนินการแปรเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จให้จงได้
ดังนั้น หากผู้บริหาร และพนักงานทุกคนมีปรัชญาในการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริงแล้วองค์การก็จะบรรลุผลตามปรัชญาแห่งลูกค้า เพียงแต่องค์การจะต้องควบคุมหลักประกันคุณภาพให้ดีควบคู่ไปด้วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตีกลับของผลิตภัณฑ์และการให้บริการ ฉะนั้น จุดที่ต้องควบคุมอย่างเข้มงวดจะประกอบไปด้วย การควบคุมการบริหาร การควบคุมการออกแบบ การควบคุมการจัดซื้อ การควบคุมการผลิต การควบคุมการติดตั้ง การควบคุมการว่าจ้าง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต้องกำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อบังคับให้พนักงานยึดถือปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงจะบังเกิดผลในแง่ปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

แนวคิดการจัดซื้อ


แนวคิดของการควบคุมการจัดซื้อ
แนวคิดการควบคุมจัดซื้อ คือ กิจกรรมของผู้จัดซื้อโดยยึดหลัก 5 R’s พิจารณาเลือกซื้อสินค้าให้ได้1. คุณสมบัติที่ถูกต้อง Right Quality2. จำนวนที่ถูกต้อง Right Quantity3. เลือกซื้อจากแหล่งที่ถูกต้อง Right Source4. ราคาที่ถูกต้อง Right Price5. ตรงตามความต้องการของลูกค้า Right Want
เขียนโดย ชณิตนันท์ สุวรรณ

กระบวนการการจัดซื้อ

กระบวนการของการควบคุมการจัดซื้อ
กระบวนการของการสั่งซื้อประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปนี้1) การรับคำสั่งซื้อจากหน่วยงานเกี่ยวข้องภายใน2) จัดหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขายสินค้าหรือวัตถุดิบ ( Suppliers ) ว่ามีอยู่ที่ใดบ้าง มีผลิตภัณฑ์อะไร ราคาและส่วนลดเป็นอย่างไร เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันประกอบการตัดสินใจ3) ติดต่อ Supplier ที่ได้คัดเลือกไว้แล้ว เพื่อตกลงทำเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็น แล้วจัดทำใบสั่งซื้อเพื่อยืนยันการสั่งซื้อไปยัง Supplier4) ติดตามผลจากการสั่งซื้อว่า Supplier ได้รับหรือไม่ และตกลงขนส่งวัตถุดิบหรือสินค้ามาตามกำหนดเวลาหรือไม่5) ตรวจรับสินค้าหรืวัตถุดิบตามที่สั่งซื้อเมื่อมาถึงว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่